Hot Dip Galvanized Pipe

กระบวรการชุบท่อ ด้วยซิงค์กัลวาไนซ์

ท่อร้อยสายไฟ ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยีล่าสุด Solid State Welders จึงมีความทนทาน แข็งแรง ดัดโค้งได้ เมื่อท่อผ่านการเคลือบสังกะสีกระบวนการ Galvanized พื้นผิวท่อเหล็กผิวจึงสามารถป้องกันสนิม ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี และร้อยสายไฟได้ลื่นและง่าย

ทั้งนี้กระบวรการเคลือบผิวเหล็กในประเทศไทยเพื่อความทนทาน และป้องกันสนิม โรงงานจะมีกระบวรการเคลือบผิวอยู่ 2 ลักษณะที่ใช้กันโดยทั่วไปในประเทศไทยคือ 1 เคลือบผิวด้วยวิธีการทางไฟฟ้า (ชุบขาว)  2 เคลือบผิวด้วยวิธีการชุบหรือจุ่มร้อนลงในบ่อZincโดยตรง จะเคลือบด้านในและนอก  โดยทั้ง2แบบนี้จะเรียกว่า Hot dip galvanized แม้จะต่างวิธีการ จนทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิด 

ความแตกต่างของทั้ง2กรรมวิธีคือ ความหนาของZinc coating ที่แตกต่างกัน โดย วิธีทางไฟฟ้าจะบางกว่า อยู่ที่ประมาณ 5-10 ไมครอน วิธีชุบ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณสมบัติ ความทนทานของท่อที่แตกต่างกัน โดยบางแบรนด์จะเคลือบด้านนอกด้านเดียว ส่วนด้านในใช้เคลือบอีพ๊อกซี่ เรซินแทน เช่น แบรนด์ PANASONIC

จึงทำให้ท่อที่ใช้วิธีการชุบจริง ซึ่งมีชั้นความหนาของ Zinc ที่ 65-300 ไมครอน ราคาที่สูงกว่าซึ่งปัจจุบันมีเพียง ไม่กี่แบรนด์ที่ยังใช้วิธีนี้ คือ แบรนด์ RSI Arrowและ TASA ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานภายนอกอาคาร สนามบิน โรงไฟฟ้า อาคารสูงขนาดใหญ่ เป็นต้น

Bending EMT pipe

การดัดท่อ EMT ด้วยอุปกรณ์จับดัด

1. ท่อ EMT (Electrical Metallic Tubing)  ท่อเหล็กชนิดบาง ผ่านกระบวนการชุบ Hot-Dip Galvanized ติดตั้งใช้งานร้อยสายไฟสำหรับการเดินลอยหรือซ่อนในฝ้าเพดาน ซึ่งการติดตั้งใช้งานให้เป็นไปตามกำหนดใน วสท.

ทำจากแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อน รีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และภายนอกท่อ และมีความมันวาว ปลายท่อเรียบทั้ง 2 ด้านไม่สามารถทำเกลียวได้ มาตรฐานกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีเขียวระบุ ชนิด และขนาดของท่อ เรียกกันทั่วไปว่าท่อ EMT ปัจจุบันมีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 2″ และยาวท่อนละ10 ฟุตหรือ ประมาณ 3 เมตร

ท่อ EMT ใช้เดินลอยในอาคาร อากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ แต่ห้ามฝังดิน หรือฝังในพื้นคอนกรีต ในสถานที่อันตราย ระบบแรงสูง หรือบริเวณ ที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ การดัดท่อชนิดนี้ใช้ bender ที่มีขนาดเท่ากับขนาดท่อ

2. ท่อ IMC – Intermediate Conduit ท่อเหล็ก ชนิดหนาปานกลาง ผ่านกระบวนการชุบ Hot-Dip Galvanized ติดตั้งใช้งานได้เช่นเดียว กับท่อโลหะชนิดบาง และติดตั้งฝังในคอนกรีตได้ แต่ห้ามใช้ในสถานที่อันตราย ตามกำหนดใน วสท.

ทำจากแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อน รีดเย็น หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และ ภายนอกท่อ มันวาว มีความหนากว่าท่อ EMT ปลายท่อทำเกลียวไว้ทั้ง 2 ด้าน มาตรฐานกำหนดให้ใช้ ตัวอักษรสีส้ม (บางครั้งอาจเห็นเป็นสีแดง)  มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″ และยาวท่อนละ 10 ฟุต หรือประมาณ 3 เมตร

ท่อ IMC ใช้เดินลอยภายนอกอาคาร ฝังในผนัง หรือพื้นคอนกรีตได้การดัดท่อชนิดนี้ใช้ hickey ที่มีขนาดเท่ากัน

3. ท่อ RSC – Rigid Steel Conduit ท่อโลหะหนา ผ่านกระบวนการชุบ Hot-Dip Galvanized สามารถใช้งานแทนท่อโลหะชนิดบาง และ ท่อโลหะชนิดหนาปานกลาง ได้ทุกประการ และให้ใช้ในสถานที่อันตรายและฝังดินได้โดยตรง ตามกำหนดใน NEC ARTICLE 346

ทำจากแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดร้อน รีดเย็น หรือ แผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายนอกและภายใน ผิวท่อเรียบทั้งภายใน และภายนอกท่อ แต่ผิวจะด้านกว่าและหนากว่าท่อ EMT และ IMC ปลายท่อทำเกลียวไว้ทั้ง 2 ด้าน มาตรฐานกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีดำ ระบุ ชนิดและขนาดของท่อ เรียกกันทั่วไปว่าท่อ RSC ยาวท่อนละ 10 ฟุตหรือประมาณ 3 เมตร

ท่อ RSC ใช้เดินนอกอาคาร ฝังในผนัง หรือพื้นคอนกรีตได้ การดัดท่อชนิดนี้ใช้ hickey หรือเครื่องดัดท่อ ไฮดรอลิกที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูปคล้ายกับข้อโค้งสาเร็จรูปของท่อ IMC ที่วางขายทั่วไปได้เช่น ข้อโค้ง 90 องศา

4. ท่อโลหะอ่อน – Flexible Metal Conduit  ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายนอก และภายใน เป็นท่อที่มีความอ่อนตัว โค้งงอไปมาได้ ใช้ป้องกันสายไฟขูดขีด ควัน ฝุ่น ภายในอาคาร ตึกสูง โรงงาน มอเตอร์ ดวงโคม หรือเครื่องจักรกลที่ มีการสั่นสะเทือน

ท่อโลหะอ่อน ใช้เดินในสถานที่แห้งและเข้าถึงได้ ห้ามใช้เดินในสถานที่เปียก , ในช่องขึ้นลง , ในห้อง เก็บแบตเตอรี่ , ในสถานที่อันตราย , ฝังดินหรือฝังในคอนกรีต การจับยึดท่อชนิดนี้ต้องมีระยะห่างระหว่าง อุปกรณ์ไม่เกิน 1.50 เมตร และห่างจากกล่องต่อสาย ไม่เกิน 30 เซนติเมตร และห้ามใช้ท่อโลหะอ่อนเป็นตัวนำแทนสายดิน

5. ท่อโลหะก่อนกันน้ำ – Rain tight Flexible Metal Conduit  เป็นท่อโลหะอ่อนที่มีเปลือก PVC หุ้มด้านนอกเพื่อกันความชื้น ไม่ให้เข้าไป ภายในท่อได้ สามารถฝังในผนัง หรือพื้นคอนกรีต เหมาะกับการใช้งานในบริเวณที่มีความชื้น เปียก คราบน้ำมัน  รวมถึงบริเวณที่ต้องการความอ่อนตัวของท่อเพื่อป้องกันสายไฟฟ้า ชำรุด จากไอของเหลวหรือ ของแข็งหรือในที่อันตรายห้ามใช้ในบริเวณที่อุณหภูมิใช้งานของ สายไฟฟ้าสูงมากจนทำให้ท่อเสียหาย

อุปกรณ์ระบบไฟฟ้า : ท่อ EFLEX ท่อ EFLEX-FR (ทนไฟ) | ท่อ PFLEX ลูกฟูกแบบอ่อน (ในอาคาร) | ท่อ PFLEX-CD (ฝังคอนกรีต) | ท่อ PFLEX CD-L (ฝังคอนกรีต,มีคาดแถบสี) | ท่อ PFLEX-CD-FR (ทนไฟ) | ท่อบาง EMT และอุปกรณ์ | ท่อหนา IMC และอุปกรณ์ | ท่อหนา RSC และอุปกรณ์ | ท่อ PVC สีเหลือง และอุปกรณ์ | ท่อ PVC สีขาว และอุปกรณ์ | ท่อ HDPE มาตรฐานต่างๆ และอุปกรณ์ (แถบสีส้ม) | ท่อ LDPE และอุปกรณ์ (แถบสีส้ม) | ท่อเรียบ PE | ท่อตาข่าย ชนิด 1 ช่อง และ 3 ช่อง FABRIC INNER DUCT | ท่ออ่อนเหล็ก และอุปกรณ์ | ท่ออ่อนกันน้ำ และอุปกรณ์ | ท่อ COT (ผ่า) | ท่อ COTO (ไม่ผ่า) สายไฟฟ้าทนไฟ | สายไฟฟ้าอลูมิเนียม | สายโทรศัพท์ ภายใน-ภายนอก | สายไฟเบอร์ออฟติก | รางเดินสายไฟและอุปกรณ์ | อุปกรณ์เดินสายไฟฟ้า | อุปกรณ์เดินสายนอกอาคาร ​อุปกรณ์ระบบประปา : ท่อ HDPE มาตรฐานต่างๆ และอุปกรณ์ | ท่อ LDPE และอุปกรณ์ | ข้อต่อแรงดันสูง | ท่อ PVC สีฟ้า ในงานประปา และอุปกรณ์ | ท่อ PVC สีเทา ในงานเกษตรและน้ำทิ้ง และอุปกรณ์ | ท่อ PPR สีเขียว ในงานประปาน้ำร้อน และอุปกรณ์ | ข้อต่อแรงดันสูง | ท่อ G-FLEX ซับน้ำ (แบบเจาะรู) | ท่อ T-FLEX ส่งน้ำ (แบบไม่เจาะรู) เครื่องใช้ไฟฟ้า : กล้องถ่ายรูป | โทรศัพท์มือถือ | คอมพิวเตอร์ | ทีวี LCD | ทีวี LED | ทีวี PLASMA | ขาแขวนทีวี | เครื่องฉายโปรเจ็กเตอร์ | เครื่องปรับอากาศ ตั้งพื้น/แขวน | เครื่องฟอกอากาศ | เครื่องพ่นอนุภาค | ม่านอากาศ | พัดลมอุตสาหกรรม | พัดลมไอน้ํา | พัดลมตั้งพื้น | พัดลมระบายอากาศ | เครื่องเป่ามือ | ไดร์เป่าผม | เครื่องซักผ้า อัตโนมัติ | เครื่องอบผ้า | เตารีดไฟฟ้า | เครื่องทำน้ำอุ่น | เครื่องทำน้ำร้อน | เครื่องกรองน้ำ | ตู้ทำน้ำเย็น | ตู้แช่แข็ง | ตู้เย็นมินิบาร์ | เตาไมโครเวฟ | เตาแม่เหล็กไฟฟ้า | เตาอบไฟฟ้า | กระทะไฟฟ้า | หม้อหุงข้าว | หม้อสุกี้ | กระติกน้ำร้อน | กาน้ำร้อนไฟฟ้า | เครื่องปั่นอเนกประสงค์ | เครื่องสกัดน้ำผลไม้ | เครื่องทำแซนวิช | ​เครื่องปิ้งขนมปัง ชุดสายไฟ : ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนตร์ รับรองมาตรฐานการผลิต