ท่อร้อยสายไฟฟ้าพีอี หรือ HDPE Conduit เหมาะสำหรับใช้เป็นท่อร้อยสายไฟ สายเคเบิ้ล สายโทรศัพท์ หรือสายไฟเบอร์ออฟติค (Sub Duct) ทั้งงานบนดิน และงานฝังใต้ดิน
ลักษณะภายนอกท่อพีอี ไฟฟ้า คือ ท่อมีสีดำ เรียบมัน มีแถบคาดสีส้ม ซึ่งการใช้สีเป็นการช่วยแยกชนิดท่อระหว่าง ท่อพีอี ไฟฟ้า คาดสีส้ม กับ ท่อพีอี ประปา ที่มีแถบคาดสีฟ้าหรือไม่มีแถบสีคาด
ท่อพีอี ผลิตจากพลาสติก พอลิเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) ซึ่งมีคุณสมบัติ คือ ทนแรงกด ทนแรงดึง ทนแรงกระแทก ไม่แตกง่าย มีความยืดหยุ่น ทนสารเคมี ไม่เป็นสนิม ไม่ผุกร่อน สามารถฝังกลบ บริเวณที่มีการทรุดตัวของดินได้
ท่อ PE ไฟฟ้า มีขนาดตั้งแต่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 มิลลิเมตร ถึง 200 มิลลิเมตร โดยมาตรฐานความยาวต่อท่อน คือ 6 และ 12 เมตร ขณะที่ความยาวต่อม้วน คือ 50 และ 100 เมตร
มาตรฐานการผลิตของท่อพีอี ไฟฟ้า อ้างอิงตามข้อกำหนดทางวิศวกรรมของการไฟฟ้านครหลวง และอ้างอิงผนังท่อตามมาตรฐาน DIN 8074/8075 และมาตรฐานท่อ มอก.982-2556
HDPE Installation
การติดตั้งท่อในสภาพแวดล้อมต่างๆ
HDPE QC Test
การทำสอบคุณภาพท่อเอชดีพีอี
*โครงการขนาดใหญ่สามารถขอผลทดสอบได้ (แจ้งล่วงหน้าก่อนผลิต)
อธิบาย มาตรฐานของท่อ HDPE ไฟฟ้า คาดส้ม ในประเทศไทย
มาตรฐานการไฟฟ้า 95%ของการใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทยและต่างประเทศ ใช้ มาตรฐานอ้างอิงข้อกำหนดทางวิศวกรรมของการไฟฟ้านครหลวง ที่PN6 Class1 DIN8074/8075 เป็นมาตรฐานหลักในการใช้งาน ซึ่งใช้ในโครงการใหญ่ทั่วประเทศ เช่น โรงไฟฟ้า สนามบิน โครงการสร้างทางรถไฟฟ้า อาคารคอนโด บ้านที่อยู่อาศัย
มาตรฐานมอก. 5%ของการใช้งานท่อไฟฟ้าHDPE ใช้มาตรฐาน มอก.982-2556 PE80 PN6/8/10 (มาตรฐานของท่อน้ำ HDPE มาคาดสีส้ม) เพราะในปัจจุบันไม่มีมาตรฐานมอก.สำหรับท่อ HDPE ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้กันโดยทั่วไป หรือเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ แต่เพื่อให้ถูกต้องตามเงื่อนไขการสกรีน มอก.บนผลิตภัณฑ์ จะต้องผลิตตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิง ผู้ผลิตจึงนำมาตรฐานของท่อน้ำHDPEมาใช้ แม้ไม่นิยมใช้ แต่จะมีการใช้งานมาตรฐานนี้ในบางงานโครงการที่มีการวางข้อกำหนดมาโดยผู้ออกแบบหรือเจ้าของโครงการที่เป็นพื้นที่เฉพาะเช่น โรงไฟฟ้า เขื่อน สนามบิน งานดันท่อลอดHDD เท่านั้น เพราะต้องการให้ท่อมีความหนามากกว่าปกติ บนพื้นที่ที่มีความต้องการความปลอดภัยจากการสั่นสะเทือนสูงพิเศษ จะใช้ที่PN10 หากโครงการไหนต้องการใช้งาน ต้องสั่งผลิตล่วงหน้าไว้เท่านั้น เพราะโรงงานจะไม่มีการผลิตสต๊อคไว้
ในทางปฎิบัติ ถือว่าใช้ได้ทั้งสองแบบ แม้ มาตรฐานมอก.จะไม่ตรงกับข้อกำหนดทางวิศวรกรรมของทางการไฟฟ้าก็ตาม แต่ด้วยความที่ท่อมีความหนาที่มากกว่าเล็กน้อย จึงสามารถนำมาใช้แทนกันได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป เนื่องจากสิ้นเปลือง และไม่คุ้มค่าต่อต้นทุนการใช้งาน กล่าวคือไม่ได้ประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานกว่านั่นเอง โรงงานในประเทศไทยจึงไม่นิยมผลิตเพื่อจำหน่าย ในส่วนของมาตรฐาน มอก.982-2556 (ท่อน้ำคาดส้ม) จะผลิตตามออร์เดอร์ที่มีจำนวนขั้นต่ำสำหรับลูกค้าโครงการเฉพาะเท่านั้น
มีผู้ใช้งานจำนวนมากเข้าใจผิดและสับสนกับมาตรฐานของท่อ HDPE ไฟฟ้า ว่ามี มาตรฐาน มอก. สำหรับท่อ HDPE ไฟฟ้า โดยเฉพาะ หรือเข้าใจว่าท่อที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ต้องมี มอก. ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงของมาตรฐานอุตสาหกรรมในประเทศไทย และไม่เป็นที่ยอมรับกับในระดับนานาชาติ ทางมอก.จึงไม่ออกข้อกำหนดนี้ออกมาเพื่อใช้งานอ้างอิง
ผู้ใช้งานทั่วไปและงานโครงการขนาดใหญ่ จึงนิยมเลือกใช้ท่อHDPE ไฟฟ้า PN6 Class1 สำหรับงานก่อสร้างแนวร้อยสายไฟฟ้า ตามมาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจสอบมาตรฐาน มอก. คลิกที่นี่ Link สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ตรวจสอบ มอก.
ท่อHDPE ไฟฟ้า Class II PN4 ได้ยกเลิกการผลิต ไม่มีการใช้งานแล้ว เนื่องจากการติดตั้งหน้างานมีโอกาสผิดพลาดท่อเสียหายได้ง่าย
ราคาท่อร้อยสายไฟฟ้า HDPE
ข้อต่อตรง Type A
มาตรฐาน มีบ่ากึ่งกลาง
ข้อต่อตรง Type A
ไม่มีบ่า
ข้อต่อตรงเกลียวนอก Type C
สำหรับต่อกับข้อต่อเกลียวใน ไฟฟ้า อื่นๆPipe Marking PE80PN10 32mm.
การขนส่ง ต้องพิจารณาจากวงรัศมีของท่อ
เช่น ท่อขนาด 75mm มีวงรัศมีมากกว่า 2 เมตร การเลือกใช้รถต้องเป็นรถกระบะแบบมีคอก เท่านั้น สอบถามขอคำแนะนำการเลือกรถขนส่งได้ที่บริษัท
การจัดส่งพัสดุ ผ่านขนส่งด่วน ส่งได้ไม่เกินขนาด 32mm เช่น ขนาด 115x115x18 Cm. นน.ประมาณ 13.5 Kg (50M.) ค่าจัดส่งประมาณ 500 บาท ต่อม้วน
รถควรมีสายรัดขนิด ดึงรั้งด้วยรอกติดมา หรือเชือกเหนียวมาด้วย
Download : เอกสารบัญชีนวัตกรรมไทย ท่อร้อยสายไฟฟ้า TGG (รหัส 01010071)
ท่อผนังสองชั้นชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง ผนังชั้นนอกผสมวัตถุดิบใช้ซ้ำสาหรับงานร้อยสาย
เป็นผลงานวิจัยของบริษัท ไทยก้าวไกลกรุ๊ป จำกัด ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนาขยะพลาสติก ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ถูกนากลับมาใช้ซ้าให้เกิดประโยชนมากที่สุด มาทดสอบคุณสมบัติเบื้องต้น เพื่อแยกประเภทและตรวจสอบ ก่อนนำมาใช้ จากนั้นนำมาผสมกับเม็ดวัตถุดิบใหม่และสารเติมแต่ง เพื่อทำให้ขยะพลาสติกเหล่านั้นมีคุณสมบัติเทียบเท่า เม็ดพอลิเอทิลีนใหม่ แล้วสามารถนำมาผลิตเป็นท่อที่มีคุณสมบัติตรงตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ สามารถนำไปใช้ในหน่วยงาน ภาครัฐ เช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีความต้องการใช้ท่อ เพื่อร้อยสายไฟฟ้าหรือร้อยสายสื่อสารทั้งงานติดตั้งบนดินและใต้ดิน
คุณลักษณะเฉพาะ
1. ท่อผนังสองชั้นชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง ผนังชั้นนอกผสมวัตถุดิบใช้ซ้าสาหรับงานร้อยสายไฟฟ้าและสายสื่อสาร
2. วัตถุดิบที่ใช้ผลิตผนังชั้นนอก คือ วัสดุผสมระหว่างวัสดุใช้ซ้ากับวัตถุดิบใหม่ในอัตราส่วนวัตถุดิบใช้ซ้า ไม่น้อยกว่า 80%
3. วัสดุใช้ซ้า ได้จากการนำเศษพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน มาผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบ
4. วัตถุดิบที่ใช้ผลิตผนังชั้นใน คือ วัสดุพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง ที่เป็นคอมพาวนด์ 100%
5. ท่อผนังสองชั้นชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง ขึ้นรูปด้วยกระบวนการ Extrusion with Co-Extruded Layer
6. ท่อผนังสองชั้นชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง ผลิตโดยอ้างอิงมาตรฐานท่อ HDPE เลขที่ มอก. 982-2556
7. คุณสมบัติทางกล คุณสมบัติทางฟิสิกส์ ของท่ออ้างอิงตามเกณฑ์มาตรฐาน เทียบเท่าท่อที่ผลิตจากวัตถุดิบใหม่
8. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อให้เลือกตั้งแต่ขนาด 75 – 225 มิลลิเมตร ความยาวต่อท่อน 6, 12 เมตร หรือตามความต้องการ
9. มีชั้นคุณภาพความดันให้เลือกตั้งแต่ PN 6 – PN 25 และชั้นคุณภาพวัตถุดิบ PE 80 และ PE 100
สามารถขอราคาโครงการได้ที่ Line: @BBK1991 Tel : 086-466-5134, 088-277-2500 ยินดีให้คำปรึกษาเรื่องท่อพีอี เลือกใช้ ต่อท่อต่างๆ